ผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์เราให้ใครได้บ้าง
เคสที่มีคนถามมาบ่อยสุดน่าจะเป็น ถ้ายกประโยชน์ให้บุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตกับเรา แต่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเรา สามารถยกให้ได้หรือเปล่า ต้องทำอย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันค่ะ
ตามที่ทุกท่านทราบกันดีว่าผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันชีวิต ต้องมีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต เช่น พ่อแม่ ลูก พี่น้อง ลุงป้า น้าอา หรือมีความสัมพันธ์ทางกฏหมาย มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เอาประกัน เช่น เป็นเจ้าหนี้ที่มีสัญญาเงินกู้
เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการฆาตรกรรมผู้เอาประกันเพื่อหวังเงินประกันชีวิต
ผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ใช้ทะเบียนบ้านเป็นหลักฐานแสดงความสัมพันธ์
แต่หากเราต้องการยกผลประโยชน์ให้คนใกล้ชิดที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต แต่เป็นคนสำคัญของเรา จะใช้เอกสารอะไรยืนยัน ผู้เขียนมีข้อแนะนำ ดังนี้ค่ะ
สามารถสมัครทำประกันตามปกติ โดยให้ระบุในกรมธรรม์ว่า ผู้รับประโยชน์ยกให้กองมรดก ขั้นตอนถัดไป ให้เขียนพินัยกรรมแนบไว้อีกฉบับ ระบุให้เป็นผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์เลขที่ xxxx ค่ะ
ส่วนกรณีของคู่สมรส ไม่จำเป็นต้องใช้ทะเบียนสมรสเป็นหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ สามารถระบุในกรมธรรม์ยกผลประโยชน์ให้ได้เลย ถือว่าตัวเราเป็นผู้รับรองสถานภาพให้เขา โดยถ้อยแถลงในใบคำขอระบุสถานะลงในกรมธรรม์ ว่าเป็น สามีหรือภรรยาของเรา
กระซิบว่าผู้เอาประกัน 1 คน จะระบุคู่ชีวิตกี่ชื่อก็ได้ แต่ควรแยกเล่มกรมธรรม์ เก็บไว้คนละที่นะคะ เพื่อความสงบสุขของเราค่ะ
กรณีคู่ชีวิตที่เป็นเพศเดียวกัน ก็สามารถยกผลประโยชน์ให้กันได้ โดยทำกรมธรรม์พร้อมกัน 2 ฉบับ และยกผลประโยชน์ให้อีกฝ่าย เป็นการแสดงเจตนายืนยันว่าเป็นคู่ชีวิตกัน หรือ หากมีข้อมูลประกอบ เช่น ซื้อบ้านร่วมกัน หรือ เปิดบริษัทร่วมกัน ก็สามารถนำข้อมูลนี้มาอ้างอิงได้เช่นกันค่ะ
-----
การระบุผู้รับประโยชน์จะใส่กี่ชื่อก็ได้ โดยระบุสัดส่วนเป็นเปอร์เซนต์ แต่ถ้าไม่ระบุ ทางบริษัทประกันจะแบ่งให้เท่าๆกัน อีกวิธีคือ ระบุเป็นลำดับ โดยที่จะจ่ายสินไหมให้ลำดับแรกก่อน หากทายาทลำดับแรกไม่อยู่จึงจะจ่ายให้ลำดับถัดไป
ข้อควรระวัง - หากผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์เสียชีวิตไปก่อนเรา เราควรจะเปลี่ยนชื่อผู้รับประโยชน์ใหม่ เพราะหากไม่มีการแจ้งชื่อใหม่เข้าไป บริษัทประกันจะถือว่า เรายกให้กองมรดกแทน ซึ่งจะเป็นไปตามลำดับทายาทของเรา ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับคนที่เราตั้งใจจะให้
-----
กรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ส่งมอบ "เงินสด" เป็นมรดกให้ทายาทที่มีชื่อระบุอยู่ในกรมธรรม์ได้อย่าง "รวดเร็ว" โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกและจัดสรรมรดก
จึงถือเป็นเงินสดฉุกเฉิน "ก้อนแรก" ที่สามารถช่วยให้ทายาทตั้งหลักปรับตัวได้ หลังจากเกิดเหตุการณ์สูญเสียของครอบครัว เราทุกคนควรมีกรมธรรม์กันไว้อย่างน้อยคนละหนึ่งเล่ม เหมือนที่เรามีบัญชีเงินฝากธนาคารนะคะ เพราะ "เงินทองต้องวางแผน"ค่ะ
ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับกรมธรรม์ที่ท่านถืออยู่
ติดต่อ https://lin.ee/s03xbZv
- การวางแผนประกันชีวิตในแต่ละช่วงวัย มีความสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการประสบความสำเร็จในการวางแผนการเงินในทุกด้าน การวางแผนการจัดการโอนย้ายความเสี่ยงเป็นพื้นฐานการวางแผนทางการเงิน ลำดับ ...
- เมื่อเราสมัครทำประกัน สิ่งสำคัญของสิทธิประโยชน์สิ่งที่เราจะได้รับที่ควรทราบเป็นเรื่องแรก คือ วันเริ่มสัญญาทำประกันหรือวันที่บริษัทเริ่มต้นคุ้มครอง โดยทั่วไปจะยึดวันที่ดังต่อไปนี้...
- ในยุคที่เศรษฐกิจขาลงเนื่องจากสถานการณ์ covid-19 โดยคาดว่าเศรษฐกิจประเทศไทยจะปรับตัวดีขึ้นแบบ Nike-shaped มีลักษณะเป็นเครื่องหมายถูกแบบหางยาว คือ เป็น V-shaped ในช่วงแรก และค่อยๆฟื้...
- โรคร้ายแรงไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด มาดูตัวเลขสถิติกันค่ะ ค่าเฉลี่ย คนไทย17คน มีโอกาสเป็นโรคร้ายแรง1คน คิดเป็น5.9%ของประชากร 5อันดับแรกของผู้ป่วยโรคร้ายแรงในประเทศไทย ได้แก่ 1.ไตวา...
- หากท่านกำลังหาประกันลดหย่อนภาษีอยู่ ซื้ออย่างไรให้คุ้มค่าทั้งภาษีและการวางแผนทางการเงิน ----- คำถามแรกของการซื้อประกันลดหย่อนภาษีคือ เบี้ยประกันที่ใช้ลดหย่อน จะได้ภาษีคืนมาเ...
- ถึงแม้ว่าเราจะพึงพอใจในสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่เรามีอยู่ แต่สำหรับการวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบรอยรั่วของแผนประกันสุขภาพที่เราใช้อยู่ เพื่อกา...
วางแผนการเงิน
-
คุณวางแผนการเงินไว้รับมือกับ ภาวะวิกฤตได้ดีพอหรือเปล่า ภาวะวิกฤตทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้น อาจเป็...
-
ปิรามิดทางการเงิน (Financial Planing Pyramid) ช่วยให้เราเรียงลำดับความสำคัญของแผนการเงินได้อย่างถูกต...
-
23 ทรัพย์สินที่ควรครอบครองเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงิน 23 Assets To Own for Financial Freedom คุณจะ...
-
มนุษย์เงินเดือนถึงแม้จะมีเพดานรายได้ที่จำกัด ไม่ได้มีโอกาสร่ำรวยแบบก้าวกระโดดเหมือนเจ้าของกิจการ เพร...