กลัวว่าเงินเกษียณจะไม่พอหรือเปล่า ??
ไม่มีใครอยากจะพบกับฝันร้ายในวัยเกษียณ เมื่อค้นพบว่าเงินที่เตรียมไว้น้อยเกินไป ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตอย่างสุขสบาย หรือหมดลงอย่างรวดเร็วจนน...
วางแผนเกษียณพร้อมลดหย่อนภาษี เลือกใช้ RMF หรือ ประกันบำนาญก่อนดี
Tags: เกษียณอายุ, วางแผนการเงิน, ประกันบำนาญ, rmf, กองทุนสำรองเลี้้ยงชีพ, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ, ลดหย่อนภาษี
วางแผนเกษียณพร้อมลดหย่อนภาษี
เลือกใช้ RMF หรือ ประกันบำนาญดี??
คำถามที่หลายคนกำลังคิดเปรียบเทียบกันอยู่ในเวลานี้ หากต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มแล้วอยากวางแผนเกษียณไปด้วยทีเดียว ควรทำประกันบำนาญ หรือซื้อ RMF ดี
สิทธิ์ลดหย่อนภาษีส่วนใหญ่ เป็นสิทธิ์ที่เราใช้จ่ายออกไปก็คือลดความมั่งคั่งของเราลง แต่สิทธิ์ลดหย่อนหมวดการออม เป็นสิทธิ์ที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากได้ภาษีคืนมาแล้ว เรายังมีความมั่งคั่ง (wealth) เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ก่อนอื่นมาทบทวนสิทธิ์ลดหย่อนในหมวดการออมกันก่อนค่ะ โดยใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้สูงสุดที่ 500,000 บาท
ขอแบ่งเป็นสิทธิ์จากการทำงาน และ สิทธิ์ออมภาคสมัครใจ
สิทธิ์จากการทำงาน
• กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข)
• กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
• กองทุนสงเคราะห์ครู
สิทธิ์ออมภาคสมัครใจ
• กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช)
• กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
• กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
• ประกันบำนาญ
อันดับแรกตรวจสอบว่า เราเหลือสิทธิ์ภาคสมัครใจอยู่เท่าไหร่ คำนวณจาก
500,000 - สิทธิ์ภาคบังคับ = สิทธิ์ภาคสมัครใจ
แล้วก็หันมาดูกระเป๋าสตางค์ของเรากันค่ะ ว่ามีเงินออมที่จัดสรรมาในส่วนนี้ได้เท่าไหร่ ถ้าสามารถออมได้เต็มสิทธิ์ที่เหลือ ก็ไปลุยกันเลยค่ะ
ในบทความนี้จะเปรียบเทียบแค่ 2 สิทธิ์ คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ ประกันบำนาญ เนื่องจากมีวัตถุประสงค์คล้ายกันในแง่การเตรียมเงินเพื่อวางแผนเกษียณ แต่มีส่วนแตกต่างกันหลายประการที่น่าสนใจเลยค่ะ
ผู้เขียนรวบรวมประเด็นมาได้ 4 ข้อ ดังนี้
1. รูปแบบการรับเงินคืน ที่แตกต่างกัน
▪︎ RMF จะได้รับคืนเป็นเงินก้อน จากการไถ่ถอนกองทุน เมื่ออายุครบ 55 ปี ซึ่งเราจะต้องวางแผนการถอนเงิน การบริหารผลตอบแทนและความเสี่ยงของเงินก้อนนี้ต่อไปอีกในวัยเกษียณ
▪︎ ประกันบำนาญ จะรับเงินคืนเป็นรายงวดทุกปี ในจำนวนที่ระบุไว้ล่วงหน้าตามสัญญากรมธรรม์ ตั้งแต่อายุ 55,60 หรือ 65 ปี ไปจนถึงอายุ 85 หรือ 90 ปี แล้วแต่สัญญากรมธรรม์
ประกันบำนาญเหมาะกับการเตรียมค่าใช้จ่ายพื้นฐานในวัยเกษียณด้วยประกันบำนาญ เพราะมีการจ่ายสม่ำเสมอ ดูแลไปจนอายุ 90 ปี ส่วนเงินก้อนที่ได้มาจาก RMF เราสามารถใช้สร้างผลตอบแทนการลงทุนให้งอกเงยได้อีก ในช่วงเกษียณวัยต้น (60-70 ปี) ที่เรายังมีแรงบริหารจัดการเงินก้อนนี้อยู่
2. ความต่อเนื่องในการออม ที่แตกต่างกัน
▪︎ RMF ออมในยอดเงินที่ไม่เท่ากันในแต่ละปีได้ ไม่มียอดขั้นต่ำในการซื้อ และเว้นการออมได้ 1 ปี (ออมปีเว้นปีได้) RMF จึงเป็นที่สนใจในเรื่องของสภาพคล่องที่ไม่ต้อง FIX ยอดออมเท่าๆกันทุกปี
▪︎ ประกันบำนาญออมยอดเท่าๆกันทุกปีนับตั้งแต่วันเริ่มสัญญาไปจนถึงวัยเกษียณ ทำให้ได้เป้าหมายการออมที่แน่นอน
สำหรับการออมเงินเพื่อการเกษียณแล้ว ควรมีเป้าหมายขั้นต่ำของเงินที่ต้องออม ไม่ว่าภาวะสภาพคล่องของเราจะเป็นเช่นไร และจัดสรรส่วนนั้นไว้ที่ประกันบำนาญ ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเป็นการบังคับตัวเองให้ออมต่อเนื่องค่ะ
3. การให้ผลตอบแทน ที่แตกต่างกัน
การออมในประกันบำนาญ คือ การลงทุนในตราสารหนี้ผ่านบริษัทประกัน จะได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน ระบุไว้ในกรมธรรม์ตั้งแต่เริ่มทำสัญญา ผลตอบแทนเฉลี่ย ไม่มากไม่น้อย เน้นความมั่นคงปลอดภัย ส่วนการลงทุนใน RMF มีโอกาสได้รับผลตอบแทนมากกว่าประกันบำนาญ แต่ก็มีความเสี่ยงของการลงทุนด้วยเช่นกัน
แต่หากเราศึกษามาอย่างดีแล้ว RMF ก็เป็นช่องทางการสร้างเงินเกษียณได้ดีเลยค่ะ เพราะถูกบังคับให้ออมยาว ถอนออกมาไม่ได้ ก็มีโอกาสรับผลตอบแทนที่เติบโตตามตลาดค่ะ แต่อย่าลืมนะคะ
ความเสี่ยงที่สุด คือ การลงทุนในสิ่งที่เราไม่รู้
ถ้าเป็นคนวัยทำงานช่วงต้นมีระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานพอ การลงทุนใน RMF ไม่น่ามีความกังวลเท่าไหร่
แต่คนที่วัยใกล้เกษียณในเวลานี้ เช่นอายุ 50 ปีเป็นต้นไป ที่จำเป็นต้องใช้เงินก้อนนี้ในวัยเกษียณ ซึ่งจะมาถึงในไม่ช้า อาจจะต้องคิดไตร่ตรองมากหน่อย ในภาวะความผันผวนของโรคระบาดและ disruption ต่างๆ ควรจะจัดสรรเงินก้อนที่คิดเผื่อๆไว้ว่าเป็นเงินสำหรับการเกษียณเฟส 2 สามารถลงทุนระยะยาวได้ เช่นอาจจะวางแผนการใช้หลังอายุ 65 หรือ 70 ปีเป็นต้นไป ก็จะไม่เครียดค่ะ
4. ให้ความคุ้มครอง ที่แตกต่างกัน
ประกันบำนาญมีข้อโดดเด่นที่ชัดเจนในตัวมันเองอยู่แล้ว ไม่ใช่เพียงแค่การันตีความเสี่ยงของการมีอายุยืนเกินไปแล้วเงินจะไม่พอใช้ แต่การันตีความเสี่ยงในช่วงวัยทำงานซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดด้วย
หากเราไม่อายุยืนแต่เราอายุสั้น
ครอบครัวเราก็ปลอดภัย
เราได้เตรียมเงินไว้ให้พวกเขาเพียงพอแล้ว
ในความเห็นของผู้เขียน คิดว่าควรมีทั้ง 2 อย่างเป็นเครื่องมือออมเงินเพื่อวัยเกษียณ แต่สัดส่วนที่จะให้น้ำหนักกับวิธีไหนมากกว่า อาจจะแตกต่างกัน ตาม อายุของผู้ออม วินัยการออม ภาระต่อคนข้างหลัง และ ความรู้ในการลงทุนค่ะ
วางแผนดูนะคะ เพราะ เงินทองต้องวางแผนค่ะ
พิชญาภัฐฐ์ ทองศรีเกตุ AFPT
ติดตามบทความวางแผนการเงินส่วนบุคคลฉบับเข้าใจง่าย ได้ที่
วางแผนประกันชีวิต
-
การวางแผนประกันชีวิตในแต่ละช่วงวัย มีความสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการประสบความสำเร็จในการวางแผนการเงินใน...
-
เมื่อเราสมัครทำประกัน สิ่งสำคัญของสิทธิประโยชน์สิ่งที่เราจะได้รับที่ควรทราบเป็นเรื่องแรก คือ วันเริ่...
-
ในยุคที่เศรษฐกิจขาลงเนื่องจากสถานการณ์ covid-19 โดยคาดว่าเศรษฐกิจประเทศไทยจะปรับตัวดีขึ้นแบบ Nike-sh...
-
โรคร้ายแรงไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด มาดูตัวเลขสถิติกันค่ะ ค่าเฉลี่ย คนไทย17คน มีโอกาสเป็นโรคร้ายแรง1ค...
-
- การวางแผนเกษียณ คือ การวางแผนการใช้ชีวิตและการเตรียมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ โดยรูปแบบการใช้ชีวิตที่เลือก จะเป็นตัวกำหนด 1.มูลค่ากองทุนเกษียณที่ต้องเตรียม 2.รูปแบบทรัพย์สินที่จะ...
- รู้หรือไม่ว่า เรามีระยะเวลาทำงานหาเงินน้อยกว่าเวลาที่เราต้องใช้เงินมากถึง 2-3 เท่า เรามีช่วงเวลาหาเงินได้ประมาณ 35-45 ปีแต่เราจะต้องใช้เงินนั้นยาวไปถึง 80 ปีเลยทีเดียว ส่วนเ...
- ยิ่งคุณรู้จักจัดการค่าใช้จ่ายให้เหลือออมได้มากเท่าไหร่ บวกกับรู้จักวิธีลงทุนให้เงินงอกเงยในความเสี่ยงที่เหมาะสม คุณก็เข้าใกล้การเกษียณเร็ว (FIRE movement) ได้มากขึ้นเท่านั้น อ...
- 5 ประเภทของ Financial Independence คุณอยากมีชีวิตเกษียณแบบไหน ตามแนวคิดของการเกษียณเร็วแบบ FIRE Movement (Financial Independence Retire Early) ที่พูดถึงการเตรียมเงินก้อนใหญ่ เพ...
- 4 วิธีการหาค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ Retirement Spending วิธีที่นิยมใช้ ในการคาดการณ์กองทุนเกษียณ คือ คำนวณหาค่าใช้จ่ายในปีแรกของการเกษียณ มาให้ได้ก่อน แล้วสมมติว่าทุกปีเราจะใช้เงินคง...
- เครื่องมือทางการเงิน ที่นิยมใช้เป็นแผนเกษียณ มีได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีให้ประโยชน์และข้อควรระวังที่แตกต่างกัน จึงขอยกตัวอย่างวิธีเตรียมเงินวัยเกษียณที่เป็นที่นิยมดังนี้ 1. ออมผ่าน...
- วิธีคำนวณกองทุนเกษียณแบบ Fix Amount Inflation Adjusted การคำนวณกองทุนเกษียณโดยเอาจำนวนเงินที่ต้องการใช้แต่ละปี คูณกับจำนวนปีที่เราคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ เป็นวิธีที่ทำให้เราคำนวณเงินออ...
- Sequence of Returns Risk (SOR)หนึ่งในความเสี่ยงที่ทำให้เงินเก็บวัยเกษียณหมดเร็วขึ้น Sequence of Returns Risk คือ ความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการถอนเงินออกจากกองทุนที่เราลงทุนในเครื่องมื...
- ปัจจุบันคนวัยเกษียณยังพึ่งพารายได้จากลูกหลานเป็นหลัก รองลงมาคือ บางส่วนยังต้องทำงานหารายได้ต่อ มีเป็นส่วนน้อยที่จะสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยเงินออมของตนเองที่ออมไว้ตั้งแต่วัยทำงาน แต่เ...
- แบ่งความเสี่ยงออกเป็น 6 กลุ่ม - OUTLIVING RESOURCES - 1. Longivity Risk คาดการ์ณอายุหลังเกษียณไว้น้อยเกินไป การมีชีวิตอยู่ยาวนาน จะรับทุกความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้นได้อีกหลายเท่า ...
- 10 ข้อผิดพลาดทางการเงินที่ทำลายเป้าหมายเกษียณก่อนวัยของคุณ การไปถึงเป้าหมายของการเกษียณได้อย่างรวดเร็ว มีเงินทำงานให้เรา ได้มีอิสรภาพในการใช้ชีวิตที่ชอบ ไม่ใช่แค่เพียงเลือกลงทุน...
- เตรียมเงินให้ลูกเรียนหนังสือ ก็อย่าลืมเตรียมเงินเกษียณให้กับตัวเราเองในวันที่ไม่มีรายได้ด้วย พ่อแม่ทุกคนรักลูก ปรารถนาให้ลูกได้รับในสิ่งดีที่สุด การให้การศึกษาที่ดีเป็นการให้สิน...
- เราทุกคนรู้ว่าต้องเก็บเงินไว้ใช้ในยามแก่ชรา ให้มากเพียงพอกับอายุที่มีโอกาสจะอยู่ได้ยาวนานขึ้น จนถึงอายุ 90 ปี เมื่อคิดเป็นจำนวนเงินที่คาดว่าใช้ให้เพียงพอแล้ว มันมากมายมหาศาล จนแทบอ...
- ถ้าคุณคือคนอายุ 40-50 ปี คุณคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสังคมผู้สูงวัย ตอนนี้ประเทศไทยเป็นประเทศ "แก่ก่อนรวย" ไปแล้ว ในยุคที่เราเข้าถึงข้อมูลความรู้ในการวางแผนทางการเงินได้มา...
- ถอนเงินเกษียณด้วยวิธี Bucket Strategy ดีกว่าจริงหรือ