เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับสินสมรสและสินส่วนตัว ที่เราเข้าใจอยู่ มันใช่หรือเปล่า??

เพิ่มเพื่อน
วันนี้ขอนำเรื่องสินสมรสและสินส่วนตัว มาพูดคุยกันในภาษาชาวบ้าน ฉบับฟังกันง่ายๆนะคะ เพื่อทำความเข้าใจในประเด็นสำคัญที่ควรทราบ ให้กับทุกท่านประกอบการวางแผนการเงินส่วนบุคคลค่ะ
  
เนื่องจากผู้เขียนเป็นที่ปรึกษาการเงิน ไม่ได้เป็นนักกฏหมายโดยตรง ผิดพลาดประการใด กรุณาแนะนำกันได้ค่ะ รายละเอียดอ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม อยู่ที่ link ด้านล่างนะคะ เรามาเริ่มกันเลยค่ะ
 
โดยทั่วไปทุกท่านทราบดีแล้วว่า ทรัพย์สินก่อนสมรส เป็นสินส่วนตัวของแต่ละคน แต่เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นระหว่างสมรสจะเป็นเป็นสินสมรส แต่บางอย่างยังเป็นข้อสงสัยสำหรับใครหลายคนอยู่ เช่น ดอกผลของสินส่วนตัว เช่น ค่าเช่า ดอกเบี้ย และ รายได้ที่เราหามาได้ระหว่างสมรสหล่ะ เป็นของใคร? หากเราได้รับมรดกมาระหว่างสมรส จะกลายเป็นสินสมรสไหม??
 
 
 
 
เพื่อความเป็นธรรม กฏหมายเปิดโอกาสให้กับคู่สมรสสามารถทำสัญญาก่อนสมรส พร้อมกับการจดทะเบียนสมรส เพื่อระบุรายการทรัพย์สินส่วนตัวและเงื่อนไขการจัดการทรัพย์สินหลังสมรสไว้ก่อนได้
 
ตัวอย่างเช่น บ้านที่ซื้อร่วมกันระหว่างสมรส ยกให้เป็นของภรรยาแต่เพียงผู้เดียว หรือ ค่าเช่าบ้านที่เป็นสินส่วนตัวของภรรยาเมื่อสมรสแล้ว ขอให้ค่าเช่านี้ยังเป็นสินส่วนตัวของภรรยา ไม่เป็นสินสมรส ก็สามารถทำได้ โดยระบุลงในสัญญาก่อนสมรส ซึ่งต้องทำให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายด้วย
 
อะไรก็ตามที่เป็นทรัพย์สินที่สร้างขึ้นด้วยกันระหว่างสมรส ถือเป็นสินสมรสแน่นอน แต่สินสมรสบางรายการที่คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นสินส่วนตัว หรือสินส่วนตัวที่เข้าใจว่าคือสินสมรส มีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
 
  • สินส่วนตัวที่ติดตัวมาก่อนสมรส เมื่อเกิดดอกผลในระหว่าง สมรส ถือเป็นสินสมรส เช่น เรามีคอนโดที่เราซื้อมาก่อนสมรส จำนวน 1 ห้อง มูลค่า 2 ล้านบาท เมื่อแต่งงานแล้วนำคอนโดออกปล่อยเช่า เดือนละ 10,000 บาท รายได้ส่วนนี้ถือเป็นสินสมรส แต่ถ้านำคอนโดนี้ไปขายเกิดกำไรจากการขาย กำไรนั้นเป็นสินส่วนตัว
  • เงินฝากธนาคารที่เป็นสินส่วนตัวก่อนสมรส เมื่อเกิดดอกเบี้ยในระหว่างสมรส เป็นสินสมรส (เงินฝากธนาคารเป็นสินส่วนตัว ดอกเบี้ยเป็นสินสมรสรายได้ที่เราสร้างขึ้นมาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน หรือ กำไรจากการค้าขายทำกิจการ เมื่อนำไปฝากธนาคาร ลงทุน หรือ ซื้อทรัพย์สินใดๆ รายได้และผลงอกเงิยจากรายได้เหล่านั้น ถือเป็นสินสมรส
  • มรดกที่ได้รับระหว่างสมรส ถือเป็นสินส่วนตัว ดอกผลของสินส่วนตัวระหว่างสมรสถือเป็นสินสมรส หมายความว่าถ้าเราได้รับมรดกเป็นที่นาให้เช่า ที่นาเป็นสินส่วนตัว ค่าเช่าที่ได้รับเป็นสินสมรส
  • เครื่องประดับ เช่น สร้อย แหวน นาฬิกา เครื่องเพชร หรือ เครื่องใช้ส่วนตัวเช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ถึงแม้จะซื้อมาด้วยรายได้ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นสินสมรส ก็ถือว่า ของใช้ส่วนตัวเป็นสินส่วนตัว ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยใช่มั้ยคะ ที่คุณผู้หญิงจะสะสมเครื่องประดับมีค่าเก็บไว้เยอะๆ
  • เครื่องมือในการประกอบวิชาชีพของแต่ละฝ่ายถึงแม้จะซื้อมาด้วยรายได้ระหว่างสมรส ก็ถือเป็นสินส่วนตัว เช่น อุปกรณ์ทำเบเกอรี่ของภรรยา รถยนต์ที่ใช้ทำงานของสามี โดยถ้าวิชาชีพของสามีไม่ต้องใช้รถยนต์เช่น ทันตแพทย์ รถยนต์ที่สามีขับก็เป็นสินสมรส
  • บ้านที่บุพการีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ยกให้คู่สมรสเป็นของขวัญแต่งงาน ถือเป็นสินสมรสถึงแม้จะมอบให้ก่อนสมรส นอกจากระบุในรายการทรัพย์สินส่วนตัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในสัญญาก่อนสมรสว่าเป็นสินส่วนตัวของใคร จึงจะเป็นสินส่วนตัว
  • บ้านที่ซื้อด้วยกันระหว่างสมรส ถึงแม้จะใส่ชื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ก็นับเป็นสินสมรสสินทรัพย์ใดๆ ที่พิสูจน์ไม่ได้ชัดเจนว่าเป็นสินส่วนตัว ให้ถือว่าเป็นสินสมรส
 
-----
ซึ่งการตรวจสอบ และจำแนกสินสมรสกับสินส่วนตัวไว้อย่างชัดเจนนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการวางแผนการเงิน เนื่องจากเมื่อมีเหตุที่เราไม่อยากให้เกิด ได้แก่ การหย่าร้าง การชดใช้หนี้สินกับเจ้าหนี้ และ การส่งมอบทรัพย์มรดกหลังจากเสียชีวิต จะได้จัดสรรได้อย่างยุติธรรมและไม่สร้างความเสียหายให้กับอีกฝ่าย
-----
 
กรณีคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปก่อหนี้ โดยที่อีกฝ่ายไม่ได้รับรู้ร่วมด้วย การบังคับชำระหนี้นั้น คู่สมรสไม่ต้องร่วมรับผิดชอบ ฟังๆดูอาจจะดูเหมือนไม่กระทบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ต้องกระทบแน่นอน หากสินส่วนตัวของฝ่ายที่เป็นหนี้ไม่พอชำระ จะต้องมีการมาแบ่งสินสมรส ครึ่งหนึ่งไปชำระหนี้ด้วย
 
ซึ่งสินสมรสนั้น บางครั้งไม่ได้แบ่งง่ายๆ เพราะไม่ใช่เงินสดเสมอไป อาจจะเป็นบ้านที่ทุกคนในครอบครัวอยู่ และ ต้องถูกบังคับขายบ้าน เพื่อนำเงินสดมาแบ่งชำระหนี้ จึงเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง ควรรีบพูดคุยกันก่อนที่ปัญหาจะบานปลาย
 
ตัวอย่างกรณี ของคุณหนุ่ม ศรราม และ คุณติ๊ก บิ๊กบราเธอร์ หนี้ในส่วนที่เกิดขึ้นระหว่างสมรส
หากไม่เข้าข่ายหนี้ 4 ประเภทนี้แล้ว คุณศรราม ก็ไม่ต้องร่วมชดใช้หนี้กับคุณติ๊ก ได้แก่
 
1.หนี้สินที่เกี่ยวกับสินสมรส
2.หนี้สินที่เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือนและสิ่งจำเป็นในครอบครัว
3.หนี้สินจากอาชีพการงานที่ทำร่วมกันระหว่างคู่สมรส
4.หนี้สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อขึ้น เพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายได้ให้สัตยาบัน ซึ่งการให้สัตยาบันจะทำให้หนี้ดังกล่าวกลายเป็นหนี้ร่วมที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องรับผิดชอบร่วมกัน เช่น ภรรยาทำสัญญาขอสินเชื่อ และ สามีเป็นพยาน ไม่ว่าทางวาจาหรือการทำหนังสือ สินเชื่อดังกล่าวจะเป็นหนี้ร่วมของสามีและภรรยา
-----
 
กรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตจากไปก่อน การส่งมอบทรัพย์มรดกจะเป็นดังนี้
1.แบ่งทรัพย์สินทรัพย์ออกเป็น สินส่วนตัว และ สินสมรส
2.แบ่งสินสมรสออกเป็น 50:50 แยกคืนให้คู่สมรส 50%
3.นำสินสมรส 50% ของเจ้ามรดก มารวมกับสินส่วนตัว และ ส่งมอบตามพินัยกรรม หากไม่มีพินัยกรรม ก็จัดสรรส่งมอบให้กับทายาทโดยธรรมตามลำดับ
4.คู่สมรส จะเป็นหนึ่งในทายาทโดยธรรมด้วย ส่วนจะรับกี่ % นั้น รายละเอียดจะพูดคุยกันในบทความต่อไปค่ะ
วันนี้เราก็ได้ทราบแล้วนะคะ ว่าแนวทางการจำแนกสินส่วนตัวและสินสมรส เป็นอย่างไร เราควรจะวางแผนจัดสรรล่วงหน้าไว้ให้ดี อย่างรอบคอบ เพื่อรองรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ จะดีกว่าค่ะ
 
ขอบคุณข้อมูลจาก https://bit.ly/3c79hB8  https://bit.ly/35KDcOb https://bit.ly/2FDSxF
เพิ่มเพื่อน

วางแผนเกษียณ


  • คุณวางแผนการเงินไว้รับมือกับ ภาวะวิกฤตได้ดีพอหรือเปล่า ภาวะวิกฤตทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้น อาจเป็นสิ่งที่เราเคยทราบมาก่อนจากการเกิดกับคนอื่น หรือ ไม่เคยพบเห็นมาก่อนเลยก็ได้ ผ...

  • ปิรามิดทางการเงิน (Financial Planing Pyramid) ช่วยให้เราเรียงลำดับความสำคัญของแผนการเงินได้อย่างถูกต้อง เพราะแผนการเงินที่มั่นคงไม่ใช่เพียงแค่ความมั่งคั่ง แต่ต้องมั่นคง ปลอดภัย มีป...

  • 23 ทรัพย์สินที่ควรครอบครองเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงิน 23 Assets To Own for Financial Freedom คุณจะมีอิสรภาพทางการเงินได้ ก็ต่อเมื่อคุณมีกระแสเงินสดเป็นรายได้ที่แน่นอนจากทรัพย์สิน...

  • มนุษย์เงินเดือนถึงแม้จะมีเพดานรายได้ที่จำกัด ไม่ได้มีโอกาสร่ำรวยแบบก้าวกระโดดเหมือนเจ้าของกิจการ เพราะต้องอาศัยเวลาและประสบการณ์ ค่อยๆไต่ระดับการเพิ่มขึ้นของรายได้ แต่มนุษย์เงิน...

  • 3 เทคนิคผ่อนบ้านให้หมดไว ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่มีวินัยทางการเงิน "บ้าน" เป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ที่สุดในชีวิตของคนหลายๆคน และเป็นหนี้สินระยะยาวซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาตลอดชีวิตของการทำงานผ่อ...

  • ติดตามข่าวของคุณไมค์ พิรัชต์ และ คุณซาร่า คาซิงกินี แล้วรู้สึกเห็นใจผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และภาวนาให้สามารถตกลงกันได้ด้วยดี ไม่ส่งผลเสียต่อน้องแม็กซ์เวลล์ ในระยะยาว ผู้เขียนเล...

  • ประกันสังคมจะมีรูปแบบการประกันตนทั้งหมด3 ประเภทด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 มาตรา คือ มาตรา 33 - พนักงานบริษัทเอกชน (มีนายจ้าง) มาตรา 39 - อดีต ม.33 ที่สมัคร ม.39 ภายใน 6 เดือน (ทำงาน...

  • หากต้องออกจากงาน ทำอย่างไรกับประกันสังคม เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจากโรคระบาด covid-19 และ ปัญหา disruption ต่างๆ ทำให้ บางกิจการต้องปิดตัวลง อาชีพและตำแหน่งงานบางอย่างต้อ...

  • การจัดการค่าใช้จ่าย เป็นขั้นแรกของการสร้างเงินออม ก่อนจะสร้างความมั่งคั่ง คุณต้องหาเงินมาออมให้ได้ก่อน การจัดการรายรับ รายจ่าย เป็นเรื่องแรกที่ทุกควรควรลงมือทำ เพื่อให้มีเงินเหลือไ...

  • รู้หรือไม่ว่าการรับมรดกของคู่สมรส ไม่ใช่ครึ่งหนึ่งของมรดก แต่อาจจะมากกว่านั้น วันนี้เรามาดูวิธีการแบ่งมรดกของคู่สมรสกันค่ะ เริ่มจาก "คู่สมรส" ที่มีสิทธิ์ได้รับมรดก ต้องเป็นคู่...

  • คุณเคยจินตนาการถึงทายาท "ลำดับถัดไป" ไว้ไกลแค่ไหน เมื่อไม่มีพินัยกรรม จะแน่ใจได้อย่างไรว่าทรัพย์สินของเราที่หามาด้วยความเหนื่อยยาก จะตกทอดไปสู่ทายาทที่เราคิดไว้ คนที่เราคิดไว้ เ...

  • Cr.ภาพ Pixabay Asset 3 อย่างที่ต้องมีหากเราอายุยืนถึง 100 ปี อีก 10 ปีข้างหน้ามีความเป็นไปได้ว่า อายุขัยของประชากร จะมีค่าเฉลี่ยถึง 100 ปี สิ่งที่มีผลกระทบมากที่สุด คือ กา...

  • ทำความรู้จักกับ HENRYs High Earner Not Rich Yet คนรายได้สูงที่ยังไม่รู้สึกว่าตัวเองรวย

  • 6 วิธีตัดค่าใช้จ่ายของคุณ เพื่อให้เงินที่คุณหามาด้วยความเหนื่อยยาก ใช้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ถ้าหากคุณดูบัญชีเงินเก็บ แล้วมันไม่งอกเงยไปถึงไหน คุณรู้สึกผิดกับตัวเองที่ไม่สามารถเก็บเ...
Visitors: 49,332