5 กับดักการเงินของมนุษย์เงินเดือน

มนุษย์เงินเดือนถึงแม้จะมีเพดานรายได้ที่จำกัด ไม่ได้มีโอกาสร่ำรวยแบบก้าวกระโดดเหมือนเจ้าของกิจการ เพราะต้องอาศัยเวลาและประสบการณ์ ค่อยๆไต่ระดับการเพิ่มขึ้นของรายได้
 
แต่มนุษย์เงินเดือนเป็นกลุ่มคนที่ "มีโอกาสประสบความสำเร็จ" ในการเตรียมเงินเกษียณได้มากกว่าเจ้าของกิจการ เพราะเจ้าของกิจการ ถึงแม้จะมีโอกาสสร้างรายได้จำนวนมาก ในหลายจังหวะของช่วงชีวิต ก็มีความเสี่ยงที่เงินจะหายไปทั้งหมด หากประสบปัญหาการลงทุนที่ผิดพลาดได้
 
 
-----
 
"การมีรายได้ที่แน่นอน"
 
ทำให้คนกลุ่มมนุษย์เงินเดือน สามารถจัดสรรการใช้จ่าย จัดการความเสี่ยง การวางแผนการออม การลงทุน และวางแผนการเงินได้แม่นยำดีทีเดียว
 
หากเป็นคนใช้จ่ายไม่เกินตัว มีเป้าหมายทางการเงินชัดเจน และรู้จักวิธีบริหารเงิน มนุษย์เงินเดือน สามารถสร้างความมั่งคั่ง (wealth) ได้ดีกว่าคนทำงานอิสระที่มี net income สูงกว่าเสียอีก
 
 
-----
 
ความเสี่ยงที่น่ากลัวที่สุดของมนุษย์เงินเดือน คือ การถูกให้ออกจากงาน แล้วหางานใหม่ไม่ได้ ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุได้ เช่น
 
• ทักษะวิชาชีพที่ตลาดต้องการเปลี่ยนไป พัฒนาปรับตัวตามไม่ทัน
• ต้องลาออกมาดูแลคนในครอบครัวที่เจ็บป่วยเรื้อรัง
• สุขภาพตนเองมีปัญหา ต้องออกมารักษาตัว
• บริษัทที่ทำงานอยู่ปิดกิจการกระทันหัน
 
หากเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ตอนอายุใกล้วัยเกษียณ จะกลายเป็นการเกษียณก่อนวัยไปโดยปริยาย เพราะคงกลับไปหางานทำยากแล้ว หากยังเก็บสะสมเงินได้ไม่มากพอ และไม่ได้เตรียมรายได้จากอาชีพเสริมอื่นๆรองรับไว้ ก็จะเกิดปัญหาเงินไม่พอใช้ในวัยเกษียณ
 
-----
 
ช่วงวัยรุ่งเรืองของการทำงาน จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ต้องมีการวางแผนการเงินที่ดี จัดสรรการออมการลงทุนอย่างเหมาะสม เพราะไม่มีใครรู้ตัวล่วงหน้าว่าอาจจะตกงานกระทันหันในวันไหน
 
แอดมินจึงได้รวบรวม กับดักทางการเงิน 5 ข้อ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเก็บเงินมาดังนี้ค่ะ
 
1. สำรองเงินฉุกเฉินน้อยเกินไป
 
มนุษย์เงินเดือน เคยชินกับการมีรายได้ประจำทุกเดือน และมั่นใจในความสามารถของตนเองที่คิดว่าเป็นที่ต้องการของตลาด หรือ มั่นใจในความมั่นคงขององค์กรที่ทำงานอยู่ ทำให้สำรองเงินฉุกเฉินน้อยเกินไป เมื่อประสบปัญหาภาวะตกงานกระทันหัน ทำให้ขาดสภาพคล่องได้เร็ว เพราะมีเวลาน้อยในการปรับตัว ทำให้เกิดภาระหนี้สิน หรือ ต้องขายทรัพย์สินในมือออกไปในราคาถูก เพื่อมาเป็นเงินสภาพคล่อง
 
-----
 
2. กู้ง่าย เป็นหนี้ง่าย หากขาดการวางแผน อาจจะทำให้ก่อหนี้เกินตัวได้
 
เนื่องจากการมีรายได้สม่ำเสมอของมนุษย์เงินเดือน ทำให้มีเครดิตที่ดีต่อสถาบันการเงิน จึงสามารถขอสินเชื่อได้ง่าย และกู้ได้ใน % ของรายได้ที่สูงกว่าคนทำงานอิสระ ที่มีรายได้ไม่แน่นอน เช่น สามารถมีบัตรเครดิตหลายใบ หรือ สามารถขอสินเชื่อแบบผ่อนชำระได้เกิน 40% ของรายได้ หากวางแผนการก่อหนี้ไว้ไม่ดี อาจเจอสภาวะหนี้ท่วม เกินความสามารถในการชำระหนี้ได้
 
ความมั่นคงในหน้าที่การงาน ก็นำไปสู่การมี "คนสนิท" ที่เกรงใจ มาขอให้เป็นผู้ค้ำประกัน ทำให้มีภาระหนี้ที่ตัวเองไม่ได้ก่อเองเพิ่มขึ้นมาอีก ถึงแม้ปัจจุบัน จะมีกฎหมายมาคุ้มครองไม่ให้บังคับให้คนค้ำชำระหนี้แทน แต่เดี๋ยวนี้บริษัทสินเชื่อเปลี่ยนจากการให้ค้ำประกัน เป็นกู้ร่วมไปเลยก็มี ความเกรงใจไม่กล้าปฏิเสธนี้ อาจจะนำมาสู่ปัญหาในอนาคตได้
 
-----
 
3. ไม่ทำประกันสุขภาพ ประกันโรคร้าย เพราะคิดว่ามีสวัสดิการที่ทำงานให้มาอยู่แล้ว
 
หลายคนทำประกันเพียงแค่ ต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี โดยเลือกเป็นตัวออมทรัพย์ ระยะสั้น เน้นผลตอบแทนทางการออมสูงที่สุด โดยไม่ได้สนใจวางแผนด้านความคุ้มครอง ไม่ทำประกันสุขภาพ หรือ ประกันโรคร้ายแรง ถึงแม้ว่าจะมีส่วนลดหย่อนภาษีได้ที่ 25,000 บาทก็ตาม
 
โดยมองว่าซ้ำซ้อนกับสวัสดิการที่ตนเองได้รับอยู่แล้วจากที่ทำงาน ไม่อยากเสียเงินทิ้งเปล่าไป เอาไว้ลาออกจากงานแล้ว ค่อยซื้อสวัสดิการเหล่านี้ทีหลังก็ได้
 
สวัสดิการที่เรามีจากที่ทำงาน เรียกว่า "สวัสดิการติดโต๊ะ" แต่สวัสดิการที่เราซื้อกรมธรรม์ประกันไว้เอง เรียกว่า "สวัสดิการติดตัว" หากออกจากงาน ก็จะมีเพียงสวัสดิการติดตัว และ สิทธิ์พื้นฐานจากบัตรทองเท่านั้นที่จะอยู่กับตัวเรา
 
ความคิดนี้ไม่มีผิดมีถูก เพราะมันคือการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ "อาจจะ" เกิด หรือ ไม่เกิด ก็ได้
 
แต่เมื่อเราเกิดเจ็บป่วย สวัสดิการที่ทำงานให้ไว้อาจจะไม่เพียงพอ คือมีอยู่แต่มีน้อย หรือ หากเราออกจากงาน แล้วค่อยมาซื้อประกันทีหลัง อาจจะสมัครไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ เพราะเรามีโรคประจำตัวแล้ว
 
ถ้าใครลังเลว่าซื้อประกันเพิ่มระหว่างทำงานไปด้วยดีหรือไม่ กลัวเสียเบี้ยทิ้ง แนะนำว่า ลองติดประกันโรคร้ายแรงไว้สักหน่อย เพราะการเกิดโรคร้ายแรงเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นแล้ว มีผลกระทบรุนแรงอย่างหนักต่อสถานภาพการเงิน ควรโอนย้ายความเสี่ยงไว้ก่อนล่วงหน้าดีจะที่สุด
 
-----
 
4. เสียภาษีในอัตราที่สูงแบบเลี่ยงไม่ได้
 
มนุษย์เงินเดือนเป็นผู้ที่อยู่ในระบบภาษีอย่างถูกต้องและรายได้อยู่ในประเภท 40(1) หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด 100,000 บาท ในขณะที่อาชีพอิสระอื่นๆ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้เป็น % และไม่มีเพดาน
 
การหาวิธีบริหารภาษี ให้เสียภาษีน้อยลง มักทำได้ยาก ทางเดียวที่จะช่วยทำให้มีเงินออมมากขึ้นจากการประหยัดภาษีได้ คือการใช้ค่าลดหย่อนในหมวดเงินออมให้ครบทุกรายการ
 
ค่าลดหย่อนในหมวดเงินออม ได้แก่ ประกันชีวิต, ประกันบำนาญ, SSF, RMF, PVD และ กอช
 
การใช้ค่าลดหย่อนหมวดนี้ เงินที่จ่ายออกไปจะกลับคืนมาในวันข้างหน้า แถมเพิ่มพูนด้วยผลตอบแทน และยังได้ใช้สิทธิ์ขอเงินคืนภาษีอีกด้วย
 
ถึงแม้มนุษย์เงินเดือนจะทราบเรื่องนี้ หลายคนก็ไม่สามารถจัดสรรเงินมาออมได้ เพราะมีภาระค่าใช้จ่ายมากมายรออยู่ จึงต้องยอมจ่ายภาษีในอัตราที่สูงต่อไป
 
ข้อพึงระวัง คือ เงินออมนี้เป็นเงินออมระยะยาว ยังไม่สามารถนำออกมาใช้ได้ในช่วงใกล้ๆ เพราะรัฐต้องการให้เราเก็บออมเงินเพื่อการเกษียณ รองรับสังคมผู้สูงวัยที่มาถึงประเทศไทยแน่ๆ
 
การวางแผนออมเงิน เพื่อนำไปลดหย่อนภาษี จึงต้องคำนึงถึงสภาพคล่องด้วย เพราะหากผิดเงื่อนไข นำเงินออกมาใช้ก่อน จะต้องจ่ายค่าปรับทำให้เสียมากกว่าได้ผลประโยชน์
 
-----
 
5. อยู่ในสังคมทำงาน เห็นคนอื่นใช้ชีวิต ก็กระตุ้นการใช้จ่ายไปด้วย
 
ด้วยรูปแบบ lifestyle การใช้ชีวิต ที่พบปะผู้คน จึงมีทั้งอยากใช้ชีวิตให้เป็นที่ยอมรับในสังคม หรือถึงแม้ไม่ได้แคร์สายตาใครมากนัก แต่การได้เห็นการใช้ชีวิตของคนอื่นตลอดเวลา ก็ทำให้มีสิ่งเร้ามากมาย ทำให้เราอยากได้ อยากมี อยากเป็นเหมือนคนอื่น โดยบางทีเราก็ไม่รู้ตัว
 
ชีวิตจึงถูกกระตุ้นการซื้อ การจ่ายตลอดเวลา ทั้งยังต้องมีภาษีสังคมจิปาถะมากมายอีก เช่น เงินช่วยงานต่างๆ ทำให้การควบคุมรายจ่าย บางทีก็เป็นไปได้ยากมาก
 
-----
 
ทั้ง 5 ข้อนี้เป็นกับดักที่ผู้เขียนได้รวบรวมมาจากประสบการณ์ตรงที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นมนุษย์เงินเดือน และจากผู้ที่มาปรึกษา หวังว่าคงมีประโยชน์ เป็นตัวช่วยในการวางแผนอยู่บ้าง
 
การวางแผนการเงินที่ดี รู้เป้าหมายในชีวิตของตัวเอง รู้จักจัดการความเสี่ยงต่างๆ มีความจำเป็นอย่างมากต่อมนุษย์เงินเดือน เพราะไม่ใช่ผู้ที่มีโอกาสหารายได้แบบหวือหวา รายได้ที่มาอย่างต่อเนื่องก็มีเพดานของมัน จึงต้องใช้ความรอบคอบระมัดระวัง เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต อย่างมีความสุขได้ค่ะ

วางแผนเกษียณ


  • คุณวางแผนการเงินไว้รับมือกับ ภาวะวิกฤตได้ดีพอหรือเปล่า ภาวะวิกฤตทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้น อาจเป็นสิ่งที่เราเคยทราบมาก่อนจากการเกิดกับคนอื่น หรือ ไม่เคยพบเห็นมาก่อนเลยก็ได้ ผ...

  • ปิรามิดทางการเงิน (Financial Planing Pyramid) ช่วยให้เราเรียงลำดับความสำคัญของแผนการเงินได้อย่างถูกต้อง เพราะแผนการเงินที่มั่นคงไม่ใช่เพียงแค่ความมั่งคั่ง แต่ต้องมั่นคง ปลอดภัย มีป...

  • 23 ทรัพย์สินที่ควรครอบครองเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงิน 23 Assets To Own for Financial Freedom คุณจะมีอิสรภาพทางการเงินได้ ก็ต่อเมื่อคุณมีกระแสเงินสดเป็นรายได้ที่แน่นอนจากทรัพย์สิน...

  • 3 เทคนิคผ่อนบ้านให้หมดไว ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่มีวินัยทางการเงิน "บ้าน" เป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ที่สุดในชีวิตของคนหลายๆคน และเป็นหนี้สินระยะยาวซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาตลอดชีวิตของการทำงานผ่อ...

  • วันนี้ขอนำเรื่องสินสมรสและสินส่วนตัว มาพูดคุยกันในภาษาชาวบ้าน ฉบับฟังกันง่ายๆนะคะ เพื่อทำความเข้าใจในประเด็นสำคัญที่ควรทราบ ให้กับทุกท่านประกอบการวางแผนการเงินส่วนบุคคลค่ะ เนื...

  • ติดตามข่าวของคุณไมค์ พิรัชต์ และ คุณซาร่า คาซิงกินี แล้วรู้สึกเห็นใจผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และภาวนาให้สามารถตกลงกันได้ด้วยดี ไม่ส่งผลเสียต่อน้องแม็กซ์เวลล์ ในระยะยาว ผู้เขียนเล...

  • ประกันสังคมจะมีรูปแบบการประกันตนทั้งหมด3 ประเภทด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 มาตรา คือ มาตรา 33 - พนักงานบริษัทเอกชน (มีนายจ้าง) มาตรา 39 - อดีต ม.33 ที่สมัคร ม.39 ภายใน 6 เดือน (ทำงาน...

  • หากต้องออกจากงาน ทำอย่างไรกับประกันสังคม เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจากโรคระบาด covid-19 และ ปัญหา disruption ต่างๆ ทำให้ บางกิจการต้องปิดตัวลง อาชีพและตำแหน่งงานบางอย่างต้อ...

  • การจัดการค่าใช้จ่าย เป็นขั้นแรกของการสร้างเงินออม ก่อนจะสร้างความมั่งคั่ง คุณต้องหาเงินมาออมให้ได้ก่อน การจัดการรายรับ รายจ่าย เป็นเรื่องแรกที่ทุกควรควรลงมือทำ เพื่อให้มีเงินเหลือไ...

  • รู้หรือไม่ว่าการรับมรดกของคู่สมรส ไม่ใช่ครึ่งหนึ่งของมรดก แต่อาจจะมากกว่านั้น วันนี้เรามาดูวิธีการแบ่งมรดกของคู่สมรสกันค่ะ เริ่มจาก "คู่สมรส" ที่มีสิทธิ์ได้รับมรดก ต้องเป็นคู่...

  • คุณเคยจินตนาการถึงทายาท "ลำดับถัดไป" ไว้ไกลแค่ไหน เมื่อไม่มีพินัยกรรม จะแน่ใจได้อย่างไรว่าทรัพย์สินของเราที่หามาด้วยความเหนื่อยยาก จะตกทอดไปสู่ทายาทที่เราคิดไว้ คนที่เราคิดไว้ เ...

  • Cr.ภาพ Pixabay Asset 3 อย่างที่ต้องมีหากเราอายุยืนถึง 100 ปี อีก 10 ปีข้างหน้ามีความเป็นไปได้ว่า อายุขัยของประชากร จะมีค่าเฉลี่ยถึง 100 ปี สิ่งที่มีผลกระทบมากที่สุด คือ กา...

  • ทำความรู้จักกับ HENRYs High Earner Not Rich Yet คนรายได้สูงที่ยังไม่รู้สึกว่าตัวเองรวย

  • 6 วิธีตัดค่าใช้จ่ายของคุณ เพื่อให้เงินที่คุณหามาด้วยความเหนื่อยยาก ใช้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ถ้าหากคุณดูบัญชีเงินเก็บ แล้วมันไม่งอกเงยไปถึงไหน คุณรู้สึกผิดกับตัวเองที่ไม่สามารถเก็บเ...
Visitors: 49,332