4 วิธี Retirement Spending
4 วิธีการหาค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ Retirement Spending
วิธีที่นิยมใช้ ในการคาดการณ์กองทุนเกษียณ คือ คำนวณหาค่าใช้จ่ายในปีแรกของการเกษียณ มาให้ได้ก่อน
แล้วสมมติว่าทุกปีเราจะใช้เงินคงที่ โดยใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 3% แล้วนำเงินที่จะใช้แต่ละปีที่เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ มาคูณกับจำนวนปีที่จะใช้ชีวิตในวัยเกษียณ เราก็สามารถคำนวณกองทุนเกษียณที่ต้องเตรียมไว้ได้
จำนวนเงินของกองทุนเกษียณที่ต้องเตรียม
หากประเมินไว้ต่ำเกินไป แน่นอน ผลคือ ชีวิตจะลำบากจากการที่มีเงินไม่พอใช้ยามชรา
หากประเมินไว้สูงเกินไป ผลคือ
•ต้องลงทุนเสี่ยงมากขึ้น เพราะเห็นว่าเงินที่เตรียมไว้ไม่พอ ต้องเร่งหาผลตอบแทนการลงทุนก่อนถึงวัยเกษียณ
•รู้สึกถอดใจกับการวางแผนเกษียณไปเลย
ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณในปีแรก จึงมีความสำคัญเพราะจะเป็นตัวแปรตั้งต้นในการคำนวณกองทุนเกษียณนั่นเอง
-----
ในบทความนี้ ได้รวบรวม 4 วิธีคำนวณค่าใช้จ่ายวัยเกษียณ เพื่อนำมาคำนวณกองทุนเกษียณ ให้ใกล้เคียงความเป็นไปได้มากที่สุด มีดังนี้
1) Replacement Ratio คือ การคาดว่าหลังเกษียณจะใช้จ่ายอยู่ประมาณ 50-80% ของรายได้ก่อนเกษียณ
การหารายได้ปีก่อนเกษียณ ก็จะคำนวณจากรายได้ปัจจุบัน และปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราการเพิ่มของเงินเดือนโดยประมาณ ตัวอย่างเช่น
อายุ 40 ปี มีรายได้ปีละ 1,000,000 บาท คาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้นทุกปีๆละ 5% ณ.อายุ 60 ปี จึงคาดว่าจะมีรายได้ปีละ 2,526,950 บาท
ถ้ากำหนด replacement ratio = 50% ณ.อายุ 61 ปี ค่าใช้จ่ายวัยเกษียณปีแรก = 1,263,475 บาท
มีงานวิจัยของ Health and Retirement Study : calculations by Tao Guo พบว่า เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่ง ค่าใช้จ่ายไม่ได้เพิ่มตามอัตราเดียวกัน คือ คนเราจะมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอยู่แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น
ดังนั้นคนรายได้ต่ำ replacement ration อาจจะเป็น 80% คนรายได้ปานกลางอาจจะเป็น 70% ส่วนคนรายได้สูง replacememt ratio อาจจะอยู่ที่ 50% นั่นเอง
-----
2) ประมาณจากค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ ด้วยการคาดการณ์ล่วงหน้าจากค่าใช้จ่ายปัจจุบัน แล้วปรับเพิ่มด้วยอัตราเงินเฟ้อ ณ.ปีที่จะเกษียณอายุ เพื่อหาค่าใช้จ่ายปีแรกของวัยเกษียณ ตัวอย่างเช่น อายุ 40 ปี มีค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะใช้ ณ.อายุ 60 ปี อยู่ที่ปีละ 500,000 บาท หากอัตราเงินเฟ้อ 3% อีก 20 ปี จะเป็นเงิน 903,056 บาท คือ ค่าใช้จ่ายปีแรกของวัยเกษียณ (initial withdrawal rate) = 903,056 บาทนั่นเอง
3) Age Banding Method ผู้คิดค้นคือ Prof.Somnath Basu โดยจะแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 3 ส่วน และมีอัตราเงินเฟ้อของค่าใช้จ่ายแต่ละตัวที่แตกต่างกัน ไม่ได้ใช้เงินเฟ้อคงที่ เหมือน 2 วิธีแรก และ มี factor มาปรับค่า lifestyle ณ.อายุ 65,75,85 อีกด้วย แปลว่า ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณไม่ได้คงที่ แต่เปลี่ยนตามช่วงอายุ
3 ส่วนของค่าใช้จ่าย คือ
basic living จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามอายุ
health care จะเพิ่มขึ้นมากโดยใช้ inflation rate 7%
สันทนาการ leisure จะลดลงมาก เมื่ออายุเพิ่มขึ้น
วิธีนี้ทำให้เห็นภาพว่า แต่ละช่วงของชีวิต lifestyle เปลี่ยนไป ค่าใช้จ่ายแต่ละตัวก็เปลี่ยนไป และ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เท่ากัน จะช่วยให้เรามองภาพการคำนวณหาค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณที่ยาวนาน ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงยิ่งขึ้น
-----
4) Annual Take Home Pay Method
คนที่มีรายได้ 1-2 ทาง และ ทำงบการเงินส่วนบุคคลมาตลอด จะรู้ว่า Annual Take Home Pay ซึ่งก็คือ เงินได้หลังหักภาษีและกองทุน secutrity fund ต่าง ๆของตัวเอง เป็นเท่าไหร่
estimate retirement spending = annual take home pay - เงินออมระยะยาว -ค่าใช้จ่ายที่ดูแลบุตร - หนี้สินผ่อนชำระ + new retirement expense (เช่นการไปเที่ยวหลังเกษียณ)
วิธีที่ 4 เป็นวิธีประมาณการณ์ให้เห็นเป็นภาพคร่าวๆ สำหรับคนที่ทำงบการเงินส่วนบุคคลเป็นประจำอยู่แล้ว จะวางแผนด้วยวิธีนี้ได้ง่าย
-----
ประเด็นสำคัญชวนคิด ของการคิดค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ คือ ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณไม่ได้คงที่ทุกปี
แนวคิด Retirement Spending Smile ของ คุณ David M.Blanchett ,PhD,CFA,CFP กล่าวว่า
กราฟค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะคล้ายกับรอยยิ้ม โดยช่วงแรกของวัยเกษียณ ค่าใช้จ่ายจะลดลง 1-2% ทุกปี เมื่อถึงจุดหาหนึ่ง ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นจากปัญหาสุขภาพในช่วงท้าย
เมื่อเราพอจะทราบค่าใช้จ่ายหลังเกษียณแล้วว่าเป็นจำนวนเท่าไหร่ สิ่งที่ต้องคิดต่อคือ เราจะมีแหล่งรายได้หลังเกษียณจากทางไหนบ้าง
ขอยกตัวอย่างงานวิจัยของคนอเมริกันว่ามีรายได้หลังเกษียณจากแหล่งไหนบ้าง
Retirement Income Generator (RIG)
สำหรับประเทศไทย แหล่งรายได้หลังเกษียณ ได้แก่ บำนาญชราภาพประกันสังคม เบี้ยยังชีพคนชรา ประกันบำนาญ ค่าเช่า ค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ ผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ และการนำบ้านไปจำนอง แบบ reverse mortgage
-----
สำหรับการวางแผนเกษียณที่ดีนั้น คุณสมบัติ 3 ข้อของแหล่งรายได้ยามเกษียณที่ควรมี คือ มีความน่าเชื่อถือ มีความยั่งยืน และ มีความเพียงพอ ซึ่งเครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งไม่สามารถทำให้ได้ครบ ต้องอาศัยการวางแผนและการบริหารจัดการก่อนเกษียณเตรียมตัวให้ดี เพื่อการเกษียณอย่างมีความสุข
เรียนรู้เพิ่มเติม ชมคลิป https://youtu.be/QP1GmjptYOE
วางแผนประกันชีวิต
-
การวางแผนประกันชีวิตในแต่ละช่วงวัย มีความสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการประสบความสำเร็จในการวางแผนการเงินใน...
-
เมื่อเราสมัครทำประกัน สิ่งสำคัญของสิทธิประโยชน์สิ่งที่เราจะได้รับที่ควรทราบเป็นเรื่องแรก คือ วันเริ่...
-
ในยุคที่เศรษฐกิจขาลงเนื่องจากสถานการณ์ covid-19 โดยคาดว่าเศรษฐกิจประเทศไทยจะปรับตัวดีขึ้นแบบ Nike-sh...
-
โรคร้ายแรงไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด มาดูตัวเลขสถิติกันค่ะ ค่าเฉลี่ย คนไทย17คน มีโอกาสเป็นโรคร้ายแรง1ค...
- กลัวว่าเงินเกษียณจะไม่พอหรือเปล่า ?? ไม่มีใครอยากจะพบกับฝันร้ายในวัยเกษียณ เมื่อค้นพบว่าเงินที่เตรียมไว้น้อยเกินไป ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตอย่างสุขสบาย หรือหมดลงอย่างรวดเร็วจนน...
- การวางแผนเกษียณ คือ การวางแผนการใช้ชีวิตและการเตรียมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ โดยรูปแบบการใช้ชีวิตที่เลือก จะเป็นตัวกำหนด 1.มูลค่ากองทุนเกษียณที่ต้องเตรียม 2.รูปแบบทรัพย์สินที่จะ...
- รู้หรือไม่ว่า เรามีระยะเวลาทำงานหาเงินน้อยกว่าเวลาที่เราต้องใช้เงินมากถึง 2-3 เท่า เรามีช่วงเวลาหาเงินได้ประมาณ 35-45 ปีแต่เราจะต้องใช้เงินนั้นยาวไปถึง 80 ปีเลยทีเดียว ส่วนเ...
- ยิ่งคุณรู้จักจัดการค่าใช้จ่ายให้เหลือออมได้มากเท่าไหร่ บวกกับรู้จักวิธีลงทุนให้เงินงอกเงยในความเสี่ยงที่เหมาะสม คุณก็เข้าใกล้การเกษียณเร็ว (FIRE movement) ได้มากขึ้นเท่านั้น อ...
- 5 ประเภทของ Financial Independence คุณอยากมีชีวิตเกษียณแบบไหน ตามแนวคิดของการเกษียณเร็วแบบ FIRE Movement (Financial Independence Retire Early) ที่พูดถึงการเตรียมเงินก้อนใหญ่ เพ...
- เครื่องมือทางการเงิน ที่นิยมใช้เป็นแผนเกษียณ มีได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีให้ประโยชน์และข้อควรระวังที่แตกต่างกัน จึงขอยกตัวอย่างวิธีเตรียมเงินวัยเกษียณที่เป็นที่นิยมดังนี้ 1. ออมผ่าน...
- วิธีคำนวณกองทุนเกษียณแบบ Fix Amount Inflation Adjusted การคำนวณกองทุนเกษียณโดยเอาจำนวนเงินที่ต้องการใช้แต่ละปี คูณกับจำนวนปีที่เราคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ เป็นวิธีที่ทำให้เราคำนวณเงินออ...
- Sequence of Returns Risk (SOR)หนึ่งในความเสี่ยงที่ทำให้เงินเก็บวัยเกษียณหมดเร็วขึ้น Sequence of Returns Risk คือ ความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการถอนเงินออกจากกองทุนที่เราลงทุนในเครื่องมื...
- ปัจจุบันคนวัยเกษียณยังพึ่งพารายได้จากลูกหลานเป็นหลัก รองลงมาคือ บางส่วนยังต้องทำงานหารายได้ต่อ มีเป็นส่วนน้อยที่จะสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยเงินออมของตนเองที่ออมไว้ตั้งแต่วัยทำงาน แต่เ...
- วางแผนเกษียณพร้อมลดหย่อนภาษี เลือกใช้ RMF หรือ ประกันบำนาญดี?? คำถามที่หลายคนกำลังคิดเปรียบเทียบกันอยู่ในเวลานี้ หากต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มแล้วอยากวางแผนเกษียณไปด้วย...
- แบ่งความเสี่ยงออกเป็น 6 กลุ่ม - OUTLIVING RESOURCES - 1. Longivity Risk คาดการ์ณอายุหลังเกษียณไว้น้อยเกินไป การมีชีวิตอยู่ยาวนาน จะรับทุกความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้นได้อีกหลายเท่า ...
- 10 ข้อผิดพลาดทางการเงินที่ทำลายเป้าหมายเกษียณก่อนวัยของคุณ การไปถึงเป้าหมายของการเกษียณได้อย่างรวดเร็ว มีเงินทำงานให้เรา ได้มีอิสรภาพในการใช้ชีวิตที่ชอบ ไม่ใช่แค่เพียงเลือกลงทุน...
- เตรียมเงินให้ลูกเรียนหนังสือ ก็อย่าลืมเตรียมเงินเกษียณให้กับตัวเราเองในวันที่ไม่มีรายได้ด้วย พ่อแม่ทุกคนรักลูก ปรารถนาให้ลูกได้รับในสิ่งดีที่สุด การให้การศึกษาที่ดีเป็นการให้สิน...
- เราทุกคนรู้ว่าต้องเก็บเงินไว้ใช้ในยามแก่ชรา ให้มากเพียงพอกับอายุที่มีโอกาสจะอยู่ได้ยาวนานขึ้น จนถึงอายุ 90 ปี เมื่อคิดเป็นจำนวนเงินที่คาดว่าใช้ให้เพียงพอแล้ว มันมากมายมหาศาล จนแทบอ...
- ถ้าคุณคือคนอายุ 40-50 ปี คุณคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสังคมผู้สูงวัย ตอนนี้ประเทศไทยเป็นประเทศ "แก่ก่อนรวย" ไปแล้ว ในยุคที่เราเข้าถึงข้อมูลความรู้ในการวางแผนทางการเงินได้มา...
- ถอนเงินเกษียณด้วยวิธี Bucket Strategy ดีกว่าจริงหรือ