หากต้องลาออกจากงาน ทำอย่างไรกับประกันสังคม
หากต้องออกจากงาน ทำอย่างไรกับประกันสังคม
เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจากโรคระบาด covid-19 และ ปัญหา disruption ต่างๆ ทำให้ บางกิจการต้องปิดตัวลง อาชีพและตำแหน่งงานบางอย่างต้องยุบตัวไปและมีทักษะอาชีพใหม่ๆเข้ามาแทนที่ ส่งผลกระทบให้คนวัยทำงาน ถูกเลิกจ้าง หรือ จำเป็นต้องลาออก อยู่ในภาวะตกงานเป็นจำนวนมาก
ซึ่งคนวัยทำงานส่วนใหญ่ จะมีสวัสดิการขั้นพื้นฐานตามข้อบังคับของกฏหมาย คือ ประกันสังคม ซึ่งมีจำนวนสมาชิกถึง 16 ล้านคน
บทความนี้จึงนำข้อมูลสำคัญควรทราบมาประกอบการพิจารณาการวางแผนการเงินของผู้ประสบปัญหาการถูกให้ออกจากงานค่ะ
คำถามยอดฮิตตอนนี้จึงเป็น เมื่อต้องออกจากงานเราควรทำอย่างไรกับประกันสังคม
- ควรสมัครมาตรา 39 ต่อ เพื่อรับสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลไหม
- เงินสมทบส่วนหนึ่งของเราถูกเก็บเป็นเงินออมไว้ในกองทุนชราภาพ เราควรทำอย่างไร
การสมัครเข้ามาตรา 39 จะต้องตัดสินใจสมัครภายใน 6 เดือน หลังจากพ้นสภาพจากมาตรา 33 แล้วเท่านั้น แต่ก็มีข้อสงสัยว่า จะมีผลอย่างไรต่อกองทุนชราภาพของเรา เมื่อครบอายุ 55 ปี และ คำนวณเงินบำนาญ จะทำให้เงินบำนาญที่ได้รับลดลงกว่าที่ควรจะเป็น หากหยุดไว้ที่มาตรา 33 หรือเปล่า
ทางเลือกไหนเหมาะกับเรา บทความนี้จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้คุณใช้ประกอบการตัดสินใจค่ะ
ทบทวนกันก่อนสักนิดนะคะ ประกันสังคมแบ่งผู้เอาประกันตนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ มาตรา 33, มาตรา 39 และ มาตรา 40
มาตรา 33 เป็นภาคบังคับสำหรับผู้ทำงานแบบมีนายจ้าง โดยจ่ายสมทบทั้งฝั่งลูกจ้างและนายจ้าง
มาตรา 39 เป็นภาคสมัครใจ เป็นเราจ่ายสมทบฝ่ายเดียว โดยมีคุณสมบัติต้องเคยเป็นสมาชิกมาตรา 33 มาก่อน และส่งเงินสมทบมาไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และสมัครในช่วงเวลาลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
มาตรา 40 เป็นภาคสมัครใจสำหรับคนทำอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ และ ค้าขาย
ประเด็นสำคัญควรรู้ เงินทองต้องวางแผนรวบรวมมา 8 ข้อ ดังนี้
1. เมื่อคุณออกจากงาน สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ไปแจ้งขึ้นทะเบียนว่างงาน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน เพื่อขอรับเงินชดเชยการว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน โดยเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น รายละเอียดศึกษาได้ตามลิ้งค์นี้ https://www.sanook.com/money/397281/
2. สำรวจกองทุนชราภาพของตนเอง ว่าเมื่อครบอายุ 55 ปี คุณจะได้รับเป็นเงินบำเหน็จ หรือ เงินบำนาญ
โดยมีเส้นแบ่งที่ระยะเวลาจ่ายเงินสมทบ
- ต่ำกว่า 180 เดือน รับบำเหน็จ
- ตั้งแต่ 180 เดือน รับบำนาญ
สมทบไม่เกิน 180 เดือน
- แต่ไม่เกิน 12 เดือน จะได้รับเฉพาะส่วนเงินสมทบของตนเองในส่วนของกองทุนชราภาพ
- เกิน 12 เดือน แต่ไม่เกิน 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จ ประกอบด้วย
เงินสมทบของตนเอง + เงินสมทบของนายจ้าง ในส่วนของกองทุนชราภาพ
+ ผลประโยชน์ตอบแทนตามประกาศของประกันสังคม ณ.ปีที่จ่ายเงินสมทบ
ตรวจสอบยอดเงินได้ที่นี่ https://www.sso.go.th/wpr/main/login
[หลักเกณฑ์และเงื่อนไขกรณีชราภาพ https://bit.ly/3vLgkZu]
สมทบตั้งแต่ 180 เดือนเป็นต้นไป
จะได้รับเงินบำนาญรายเดือนทุกเดือน ตั้งแต่อายุ 55 ปี ไปตลอดชีพ
เงินบำนาญ = [20%+ 1.5%เพิ่มทุก 12 เดือนที่เกินจาก 180 เดือน] × ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
ตัวอย่างของการคิดบำนาญชราภาพ ตามจำนวนเดือนที่สมทบ
3.เมื่อออกจากมาตรา 33 ผู้ประกันตนจะยังได้รับสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลไปอีก 6 เดือน ถ้าภายใน 6 เดือน ไม่สมัครมาตรา 39 ต่อ ก็จะหมดสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาล และ ไปรอรับเงินชราภาพตอนอายุ 55 ปี
4.หากเสียชีวิตระหว่างที่ รอรับกองทุนชราภาพ ณ.อายุ 55 ปี เงินบำเหน็จที่คำนวณได้จะถูกจ่ายให้ทายาทโดยธรรม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 แบ่งเป็นสัดส่วนที่ประกันสังคมกำหนด ระหว่าง บิดา(โดยชอบด้วยกฎหมาย) มารดา คู่สมรส (จดทะเบียนสมรส) บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่มีบุคคลกลุ่มที่ 1 จะจ่าย
กลุ่มที่ 2 โดยจ่ายเป็นลำดับ คือ
- พี่น้องร่วมบิดามารดา
- พี่น้องร่วมบิดา หรือ มารดา
- ปู่ย่าตายาย
- ลุงป้าน้าอา
5. หากเราอยู่ในกลุ่มผู้รับบำเหน็จเพราะสมทบไม่ถึง 180 เดือน แล้วอยากรับบำนาญจากประกันสังคม
เราสามารถสมัครกลับมาเป็นผู้เอาประกันตนมาตรา 33 อีกครั้งได้ โดยกลับมาสมัครงานแบบมีนายจ้าง (ต้องภายในอายุ 60 ปี) ประกันสังคมจะนับจำนวนเดือนของการจ่ายเงินสมทบต่อเนื่องจากเดือนสุดท้ายที่หยุดจ่ายเงินสมทบไป เช่น
จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 170 เดือน แล้วออกจากงานตอนอายุ 45 ปี กลับมาสมทบใหม่ตอนอายุ 50 ปี ก็จะนับต่อเป็นเดือนที่ 171 ไปจนถึงอายุ 55 ปี
ทำให้จากเดิมอยู่ในเกณฑ์รับบำเหน็จ สามารถเปลี่ยนเป็นเกณฑ์ของการรับบำนาญ เพราะสมทบเกิน 180 เดือน
6. กรณีผ่านเกณฑ์ 180 เดือนของการรับบำนาญในขณะที่อยู่มาตรา 33 แล้ว และไม่คิดว่าจะกลับเข้าระบบประกันสังคมอีกเลยจนเกษียณ รวมถึงไม่สนใจสิทธิ์รักษาพยาบาลของประกันสังคม เนื่องจากอาจจะไปใช้บัตรทอง หรือ มีประกันสุขภาพส่วนบุคคล ทดแทน
ก็ไม่ควรสมัครมาตรา 39 ต่อ เพราะจะทำให้เมื่อคิดค่าเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย คือ ช่วงอายุ 51-55 ปีหากอยู่ใน ม.39 จะคิดที่ฐาน 4,800 บาท แทนที่จะเป็น 15,000 บาท ทำให้เมื่อคำนวณเป็นเงินบำนาญแล้วจะน้อยกว่ามาก
ตัวอย่างเช่น
กรณี 1 - ลาออกตอนอายุ 40 ปี จ่ายสมทบมาแล้ว 180 เดือน ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท อายุ 55 ปี จะได้รับบำนาญ ดังนี้
20% × 15,000 = 3,000 บาท ต่อเดือน
กรณี 2 - สมัครมาตรา 39 ต่อ และส่งเงินสมทบในมาตรา 39 ตั้งแต่อายุ 41 ปี จนถึงอายุ 55 ปี (สมทบต่ออีก 15×12= 180 เดือน) จะได้รับบำนาญ ดังนี้
[20%+ (1.5%×15)] × 4,800 = 2,040 บาท ต่อเดือน
ข้อพิจารณานี้ เราก็คงต้องชั่งใจเลือก โดยพิจารณาสุขภาพของตนเองประกอบไปด้วย ว่าจะเลือกรับสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาล หรือ เงินบำนาญที่จำนวนมากกว่า
7. หากเราอยู่ในมาตรา 39 แต่อยากได้ฐานคิดเงินบำนาญเป็น 15,000 บาท ไม่ใช่ 4,800 บาท เราต้องกลับไปทำงานในระบบที่มีนายจ้างและสมัครกลับเข้ามาตรา 33 ใหม่
สำคัญที่ 60 เดือนสุดท้าย หากเราอยู่ในมาตรา 33 ค่าเฉลี่ยเงินเดือนที่นำมาคิดบำนาญ จะเป็น 15,000 บาท ถึงแม้ว่าเราจะเคยอยู่มาตรา 39 มาหลายปีแล้วก็ตาม
ส่งผลให้เรามีโอกาสที่จะรับเงินบำนาญชราภาพในจำนวนที่สูงขึ้นได้นั่นเอง
8. กรณีที่อยู่ในเกณฑ์รับบำนาญชราภาพแล้ว เมื่อครบอายุ 55 ปี ยังมีความประสงค์จะรับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลต่อ จึงสมัครมาตรา 39 แต่เกรงว่าวันที่ลาออกจากมาตรา 39 แล้วขอรับเงินบำนาญชราภาพ จะได้เงินบำนาญจำนวนน้อยเพราะคิดที่ฐาน 4,800 บาท
ให้เลือกขอรับเงินบำนาญ ณ.อายุ 55 ปีก่อนไปอีกสัก 5 เดือน แล้วค่อยสมัครกลับไปที่มาตรา 39 ระบบจะหยุดจ่ายเงินบำนาญ แต่จะจดจำเงินบำนาญที่ถูกคำนวณไว้ล่าสุดให้ (คิดที่ฐาน 15,000 บาท)
ยกตัวอย่างเช่น ไปยื่นลาออกจากมาตรา 39 ณ.อายุ 62 ปี วิธีคิดเงินบำนาญชราภาพ จะคำนวณที่ยอดฐานการคิดเดิมของเงินเดือน 15,000 บาท และ นับอายุงานต่อ คือเพิ่มตัวคูณ 1.5% ทุกๆ 12 เดือนที่เพิ่มขึ้นในขณะที่อยู่ที่ มาตรา 39 อีกด้วย
-----
ทั้ง 8 ข้อ ที่เงินทองต้องวางแผน ได้รวบรวมมาฝาก น่าจะพอเป็นแนวทางให้ท่านตัดสินใจได้ว่า ควรจะเลือกจัดการอย่างไรกับสิทธิ์ประกันสังคมของท่าน
ซึ่งจุดเด่นของประกันสังคมไม่ใช่เพียงสิทธิ์ประกันสุขภาพเท่านั้น แต่สิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ กองทุนชราภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐอเมริกา ใช้เป็นเครื่องมือหลักในการใช้เป็นรายได้หลังเกษียณ แต่ในบ้านเรายังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก
และการเก็บเงินจำนวนเท่านี้ยังไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพอย่างปลอดภัยในวัยเกษียณ หากท่านใดยังมีกำลังทรัพย์ที่มากพอ นอกจากการออมเงินผ่านการลงทุนรูปแบบต่างๆแล้ว แอดมินขอนำเสนอให้ใช้อีกเครื่องมือหนึ่งคือ ประกันบำนาญ เข้าช่วยสร้างรายได้ประจำในวัยเกษียณเพิ่มอีกตัวหนึ่งด้วย แล้ววัยเกษียณของท่านจะมีความสุข สบายใจ ปลอดภัย มั่นคงค่ะ
วางแผนเกษียณ
-
กลัวว่าเงินเกษียณจะไม่พอหรือเปล่า ?? ไม่มีใครอยากจะพบกับฝันร้ายในวัยเกษียณ เมื่อค้นพบว่าเงินที่เต...
-
การวางแผนเกษียณ คือ การวางแผนการใช้ชีวิตและการเตรียมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ โดยรูปแบบการใช้ชีวิตที่...
-
รู้หรือไม่ว่า เรามีระยะเวลาทำงานหาเงินน้อยกว่าเวลาที่เราต้องใช้เงินมากถึง 2-3 เท่า เรามีช่วงเวลาหาเ...
-
ยิ่งคุณรู้จักจัดการค่าใช้จ่ายให้เหลือออมได้มากเท่าไหร่ บวกกับรู้จักวิธีลงทุนให้เงินงอกเงยในความเสี่ย...
- คุณวางแผนการเงินไว้รับมือกับ ภาวะวิกฤตได้ดีพอหรือเปล่า ภาวะวิกฤตทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้น อาจเป็นสิ่งที่เราเคยทราบมาก่อนจากการเกิดกับคนอื่น หรือ ไม่เคยพบเห็นมาก่อนเลยก็ได้ ผ...
- ปิรามิดทางการเงิน (Financial Planing Pyramid) ช่วยให้เราเรียงลำดับความสำคัญของแผนการเงินได้อย่างถูกต้อง เพราะแผนการเงินที่มั่นคงไม่ใช่เพียงแค่ความมั่งคั่ง แต่ต้องมั่นคง ปลอดภัย มีป...
- 23 ทรัพย์สินที่ควรครอบครองเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงิน 23 Assets To Own for Financial Freedom คุณจะมีอิสรภาพทางการเงินได้ ก็ต่อเมื่อคุณมีกระแสเงินสดเป็นรายได้ที่แน่นอนจากทรัพย์สิน...
- มนุษย์เงินเดือนถึงแม้จะมีเพดานรายได้ที่จำกัด ไม่ได้มีโอกาสร่ำรวยแบบก้าวกระโดดเหมือนเจ้าของกิจการ เพราะต้องอาศัยเวลาและประสบการณ์ ค่อยๆไต่ระดับการเพิ่มขึ้นของรายได้ แต่มนุษย์เงิน...
- 3 เทคนิคผ่อนบ้านให้หมดไว ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่มีวินัยทางการเงิน "บ้าน" เป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ที่สุดในชีวิตของคนหลายๆคน และเป็นหนี้สินระยะยาวซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาตลอดชีวิตของการทำงานผ่อ...
- วันนี้ขอนำเรื่องสินสมรสและสินส่วนตัว มาพูดคุยกันในภาษาชาวบ้าน ฉบับฟังกันง่ายๆนะคะ เพื่อทำความเข้าใจในประเด็นสำคัญที่ควรทราบ ให้กับทุกท่านประกอบการวางแผนการเงินส่วนบุคคลค่ะ เนื...
- ติดตามข่าวของคุณไมค์ พิรัชต์ และ คุณซาร่า คาซิงกินี แล้วรู้สึกเห็นใจผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และภาวนาให้สามารถตกลงกันได้ด้วยดี ไม่ส่งผลเสียต่อน้องแม็กซ์เวลล์ ในระยะยาว ผู้เขียนเล...
- ประกันสังคมจะมีรูปแบบการประกันตนทั้งหมด3 ประเภทด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 มาตรา คือ มาตรา 33 - พนักงานบริษัทเอกชน (มีนายจ้าง) มาตรา 39 - อดีต ม.33 ที่สมัคร ม.39 ภายใน 6 เดือน (ทำงาน...
- การจัดการค่าใช้จ่าย เป็นขั้นแรกของการสร้างเงินออม ก่อนจะสร้างความมั่งคั่ง คุณต้องหาเงินมาออมให้ได้ก่อน การจัดการรายรับ รายจ่าย เป็นเรื่องแรกที่ทุกควรควรลงมือทำ เพื่อให้มีเงินเหลือไ...
- รู้หรือไม่ว่าการรับมรดกของคู่สมรส ไม่ใช่ครึ่งหนึ่งของมรดก แต่อาจจะมากกว่านั้น วันนี้เรามาดูวิธีการแบ่งมรดกของคู่สมรสกันค่ะ เริ่มจาก "คู่สมรส" ที่มีสิทธิ์ได้รับมรดก ต้องเป็นคู่...
- คุณเคยจินตนาการถึงทายาท "ลำดับถัดไป" ไว้ไกลแค่ไหน เมื่อไม่มีพินัยกรรม จะแน่ใจได้อย่างไรว่าทรัพย์สินของเราที่หามาด้วยความเหนื่อยยาก จะตกทอดไปสู่ทายาทที่เราคิดไว้ คนที่เราคิดไว้ เ...
- Cr.ภาพ Pixabay Asset 3 อย่างที่ต้องมีหากเราอายุยืนถึง 100 ปี อีก 10 ปีข้างหน้ามีความเป็นไปได้ว่า อายุขัยของประชากร จะมีค่าเฉลี่ยถึง 100 ปี สิ่งที่มีผลกระทบมากที่สุด คือ กา...
- ทำความรู้จักกับ HENRYs High Earner Not Rich Yet คนรายได้สูงที่ยังไม่รู้สึกว่าตัวเองรวย
- 6 วิธีตัดค่าใช้จ่ายของคุณ เพื่อให้เงินที่คุณหามาด้วยความเหนื่อยยาก ใช้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ถ้าหากคุณดูบัญชีเงินเก็บ แล้วมันไม่งอกเงยไปถึงไหน คุณรู้สึกผิดกับตัวเองที่ไม่สามารถเก็บเ...