รู้จัก 3 เครื่องมือทางการเงินเพื่อใช้เป็นแผนเก็บเงินเกษียณ

เครื่องมือทางการเงิน ที่นิยมใช้เป็นแผนเกษียณ มีได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีให้ประโยชน์และข้อควรระวังที่แตกต่างกัน 

จึงขอยกตัวอย่างวิธีเตรียมเงินวัยเกษียณที่เป็นที่นิยมดังนี้

1. ออมผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (PVD) วิธีนี้เป็นของพนักงานที่สังกัดบริษัทเอกชนที่มีขนาดใหญ่ ที่มีการจัดตั้งกองทุนรวมให้กับพนักงาน เพื่อสร้างความมั่นคงในการออมเพื่อวัยเกษียณ รวมถึงจูงใจให้พนักงาน ทำงานกับองค์กรเป็นเวลานานขึ้น เพื่อที่จะได้รับส่วนสมทบจากองค์กรในจำนวนที่มากขึ้น และสามารถโอนย้ายเงินในกองทุนเดิม ไปกองทุนที่ใหม่ได้ กรณีเปลี่ยนที่ทำงาน เพื่อให้การออมมีความต่อเนื่อง ได้เป็นเงินก้อนใหญ่ไปถึงวัยกษียณ

ข้อดี คือ ออมต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพราะหักจากเงินเดือนทุกเดือน เป็น % ที่เลือกไว้ ทำให้สามารถสร้างเงินก้อนใหญ่ได้

2. ออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งหลายคนเลือกวิธีนี้เพราะต้องการได้สิทธิลดหย่อนภาษี โดยรัฐสนับสนุนให้คนที่ไม่อยู่ในระบบบริษัท ออมด้วยตัวเองได้ แต่ก็อาจจะไม่มีวินัยในการออมต่อเนื่อง เพราะข้อบังคับเรื่องภาษี สามารถออมปีเว้นปีได้ และ ขั้นต่ำเพียงปีละ 5,000 บาท บางคนมองแค่การลดภาษี ไม่ได้ตั้งใจออมอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้เก็บเงินไม่เพียงพอ ที่จะใช้ในยามชราภาพ

ข้อเสนอแนะ

  • กองทุนมีความเสี่ยงที่จะต้องบริหารจัดการ 
  • การออมหยุดชะงักกรณีลาออก แล้วขอถอนกองทุนคืน จึงไม่เป็นเงินก้อนใหญ่จนถึงวัยเกษียณ
  • เงินที่ได้รับคืนจะเป็นเงินก้อนในวัยเกษียณอายุ 55 ปี มีความเสี่ยงในกรณีที่รับเงินก้อนคืน และอาจจะใช้เงินผิดพลาด หมดไปในระยะเวลาอันสั้น ไม่สามารถคงเงินไว้ ให้รับต่อเนื่องได้จนถึงวัยชรา
  • กรณีคงกองทุนไว้ เพื่อหาผลตอบแทนการลงทุนต่อ ก็จะต้องมีการบริหารจัดการ ซึ่งเมื่อเราอายุมากขึ้น เราอาจจะไม่สะดวก คล่องตัว ที่จะดูแลเงินด้วยวิธีแบบนี้ เราก็จะย้ายเงินออมไปไว้ในพันธบัตร หรือ เงินฝากออมทรัพย์ ซึ่งในเวลานั้น แนวโน้มจะให้ผลตอบแทนที่น้อยมาก หรือ อาจจะเป็น 0 เราจึงต้องใช้วิธีทยอยถอนเงินต้นมาใช้ แบบมีการวางแผน ว่าถอนได้แค่เท่าไหร่ ไม่ให้หมดก่อนเราจากไป 

 

3. ออมผ่านกองทุนประกันสังคม โดยเงินที่เราหักเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน ส่วนหนึ่งจะนำไปสะสมเข้ากองทุนชราภาพ ซึ่งหากประสงค์จะสร้างเงินบำนาญรายเดือนด้วยกองทุนชราภาพของประกันสังคม ต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้

          - เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 
          - มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
          - ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 จะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพ

           เงินออมชราภาพที่ได้รับนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ "เงินบำเหน็จ" ที่จ่ายเป็นก้อนใหญ่ครั้งเดียว กับ "เงินบำนาญ" ที่จะทยอยจ่ายเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต โดยเราไม่สามารถเลือกเองได้ว่าจะรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ แต่จะขึ้นอยู่ระยะเวลาส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามเงื่อนไข คือ

          1. บำเหน็จชราภาพ : จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน หรือ 15 ปี โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ   

           - จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินที่เราจ่ายสมทบเท่านั้น

          - จ่ายสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน ได้บำเหน็จเท่ากับเงินที่เราจ่ายสมทบ บวกกับเงินที่นายจ้างสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนที่ประกันสังคมกำหนด
          2. บำนาญชราภาพ : จ่ายสมทบมากกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี จะติดต่อกันหรือไม่ก็ได้ 

เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน แม้ว่าจะหยุดส่งไปช่วงหนึ่งแล้วกลับมาเข้าระบบประกันสังคมใหม่ หรือส่งติดต่อกัน 15 ปีก็ตาม จะมีสิทธิ์รับบำนาญเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานเงินเดือนสูงสุดที่คิดคือ 15,000 บาท) 

 
          แต่ถ้ามีการจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ก็จะได้บำนาญบวกเพิ่มขึ้นไปอีก 1.5% ทุก ๆ 12 เดือน หรือ 1 ปี เช่น จ่ายเงินสมทบ 30 ปี ก็จะได้รับบำนาญเป็น 20% + (1.5% x 15 ปี) เท่ากับ 42.5%
 
เครดิตภาพ จากสำนักงานประกันสังคม
 
บำนาญชราภาพ คิดยังไง ได้เงินเท่าไหร่
 
          เงินบำนาญชราภาพ ประกันสังคม ที่เราได้รับจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบและฐานเงินเดือนของเรา ซึ่งสามารถคำนวณได้ด้วยตัวเอง โดยวิธีง่าย ๆ คือ

          1. จ่ายเงินสมทบ 180 เดือน หรือ 15 ปี พอดีเป๊ะ : ได้รับบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย (สูงสุด 15,000 บาท)
 
          สูตรคำนวณเงินบำนาญที่ได้ คือ ค่าจ้าง x 20%
 
          หมายความว่า ถ้าเรามีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไป ก็จะคำนวณเงินบำนาญได้เป็น 15,000 x 20%  เท่ากับได้รับเงินบำนาญเดือนละ 3,000 บาท หรือถ้ามีรายได้ 12,000 บาท จะได้เงินบำนาญ เดือนละ 2,400 บาท ไปตลอดชีวิต

          2. จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี : ได้รับบำนาญ 20% บวก 1.5% ทุก ๆ 12 เดือน หรือ 1 ปี 
 
          สูตรคำนวณ คือ 20% + [1.5% x (จำนวนปีจ่ายเงินสมทบ - 15 ปี)]  
 
          ตัวอย่างเช่น
          - จ่ายเงินสมทบ 20 ปี จะได้เป็น 20% + (1.5% x 5) เท่ากับ 27.5% แล้วค่อยเอา 27.5% คูณฐานเงินเดือน ก็จะได้จำนวนเงินบำนาญที่ได้รับแต่ละเดือนออกมา 
          หมายความว่า ถ้าเรามีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไป จะได้บำนาญเดือนละ 4,125 บาท (15,000 x 27.5%) 
 
          - จ่ายเงินสมทบ 25 ปี จะได้เป็น 20% + (1.5% x 10) เท่ากับ 35% ของเงินเดือน
          หมายความว่า ถ้าเรามีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไป ก็จะได้บำนาญเดือนละ 5,250 บาท (15,000 x 35%) 
 
          - จ่ายเงินสมทบ 30 ปี จะได้เป็น 20% + (1.5% x 15) เท่ากับ 42.5% ของเงินเดือน
          หมายความว่า ถ้าเรามีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไป ก็จะได้บำนาญเดือนละ 6,375 บาท (15,000 x 42.5%)  

          แต่ถ้าเรามีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท ก็ให้นำเงินจำนวนนั้นมาหาค่าเฉลี่ยรายได้ 60 เดือนสุดท้าย (ตามสูตร จำนวนรายได้ทั้งหมดที่ได้รับ หาร 60) แล้วคำนวณตามจริง โดยสามารถคำนวณเงินบำนาญ ประกันสังคม ผ่านเว็บไซต์ได้ที่ โปรแกรมการคำนวณเงินบำนาญชราภาพ
 
เครดิตข้อมูล เวป moneykapook
 
สรุปเป็นตารางจำนวนปีที่จ่ายเงินสมทบและเงินบำนาญที่ได้รับ ดังนี้
 

 เครดิตภาพจากเวป ธนาคารกรุงศรี

ข้อเสนอแนะ

  • หากเลือกรับเป็นเงินบำนาญ ก็จะไม่ได้สิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคมอีกต่อไป
  • เมื่อลาออกจากงานและไม่ได้กลับไปทำงานบริษัทอีก และยื่นเป็นผู้เอาประกันตนมาตรา 39 ฐานการคำนวณเงินบำนาญชราภาพจะลดลงมาก
  • จะได้เงินบำนาญเต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ต่อเมื่ออยู่ในมาตรา 33 จนถึงวันสิ้นสุดสมาชิกภาพ

ลงทะเบียนขอรับคำปรึกษาการวางแผนเกษียณ คลิ๊ก

วางแผนประกันชีวิต


  • กลัวว่าเงินเกษียณจะไม่พอหรือเปล่า ?? ไม่มีใครอยากจะพบกับฝันร้ายในวัยเกษียณ เมื่อค้นพบว่าเงินที่เตรียมไว้น้อยเกินไป ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตอย่างสุขสบาย หรือหมดลงอย่างรวดเร็วจนน...

  • การวางแผนเกษียณ คือ การวางแผนการใช้ชีวิตและการเตรียมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ โดยรูปแบบการใช้ชีวิตที่เลือก จะเป็นตัวกำหนด 1.มูลค่ากองทุนเกษียณที่ต้องเตรียม 2.รูปแบบทรัพย์สินที่จะ...

  • รู้หรือไม่ว่า เรามีระยะเวลาทำงานหาเงินน้อยกว่าเวลาที่เราต้องใช้เงินมากถึง 2-3 เท่า เรามีช่วงเวลาหาเงินได้ประมาณ 35-45 ปีแต่เราจะต้องใช้เงินนั้นยาวไปถึง 80 ปีเลยทีเดียว ส่วนเ...

  • ยิ่งคุณรู้จักจัดการค่าใช้จ่ายให้เหลือออมได้มากเท่าไหร่ บวกกับรู้จักวิธีลงทุนให้เงินงอกเงยในความเสี่ยงที่เหมาะสม คุณก็เข้าใกล้การเกษียณเร็ว (FIRE movement) ได้มากขึ้นเท่านั้น อ...

  • 5 ประเภทของ Financial Independence คุณอยากมีชีวิตเกษียณแบบไหน ตามแนวคิดของการเกษียณเร็วแบบ FIRE Movement (Financial Independence Retire Early) ที่พูดถึงการเตรียมเงินก้อนใหญ่ เพ...

  • 4 วิธีการหาค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ Retirement Spending วิธีที่นิยมใช้ ในการคาดการณ์กองทุนเกษียณ คือ คำนวณหาค่าใช้จ่ายในปีแรกของการเกษียณ มาให้ได้ก่อน แล้วสมมติว่าทุกปีเราจะใช้เงินคง...

  • วิธีคำนวณกองทุนเกษียณแบบ Fix Amount Inflation Adjusted การคำนวณกองทุนเกษียณโดยเอาจำนวนเงินที่ต้องการใช้แต่ละปี คูณกับจำนวนปีที่เราคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ เป็นวิธีที่ทำให้เราคำนวณเงินออ...

  • Sequence of Returns Risk (SOR)หนึ่งในความเสี่ยงที่ทำให้เงินเก็บวัยเกษียณหมดเร็วขึ้น Sequence of Returns Risk คือ ความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการถอนเงินออกจากกองทุนที่เราลงทุนในเครื่องมื...

  • ปัจจุบันคนวัยเกษียณยังพึ่งพารายได้จากลูกหลานเป็นหลัก รองลงมาคือ บางส่วนยังต้องทำงานหารายได้ต่อ มีเป็นส่วนน้อยที่จะสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยเงินออมของตนเองที่ออมไว้ตั้งแต่วัยทำงาน แต่เ...

  • วางแผนเกษียณพร้อมลดหย่อนภาษี เลือกใช้ RMF หรือ ประกันบำนาญดี?? คำถามที่หลายคนกำลังคิดเปรียบเทียบกันอยู่ในเวลานี้ หากต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มแล้วอยากวางแผนเกษียณไปด้วย...

  • แบ่งความเสี่ยงออกเป็น 6 กลุ่ม - OUTLIVING RESOURCES - 1. Longivity Risk คาดการ์ณอายุหลังเกษียณไว้น้อยเกินไป การมีชีวิตอยู่ยาวนาน จะรับทุกความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้นได้อีกหลายเท่า ...

  • 10 ข้อผิดพลาดทางการเงินที่ทำลายเป้าหมายเกษียณก่อนวัยของคุณ การไปถึงเป้าหมายของการเกษียณได้อย่างรวดเร็ว มีเงินทำงานให้เรา ได้มีอิสรภาพในการใช้ชีวิตที่ชอบ ไม่ใช่แค่เพียงเลือกลงทุน...

  • เตรียมเงินให้ลูกเรียนหนังสือ ก็อย่าลืมเตรียมเงินเกษียณให้กับตัวเราเองในวันที่ไม่มีรายได้ด้วย พ่อแม่ทุกคนรักลูก ปรารถนาให้ลูกได้รับในสิ่งดีที่สุด การให้การศึกษาที่ดีเป็นการให้สิน...

  • เราทุกคนรู้ว่าต้องเก็บเงินไว้ใช้ในยามแก่ชรา ให้มากเพียงพอกับอายุที่มีโอกาสจะอยู่ได้ยาวนานขึ้น จนถึงอายุ 90 ปี เมื่อคิดเป็นจำนวนเงินที่คาดว่าใช้ให้เพียงพอแล้ว มันมากมายมหาศาล จนแทบอ...

  • ถ้าคุณคือคนอายุ 40-50 ปี คุณคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสังคมผู้สูงวัย ตอนนี้ประเทศไทยเป็นประเทศ "แก่ก่อนรวย" ไปแล้ว ในยุคที่เราเข้าถึงข้อมูลความรู้ในการวางแผนทางการเงินได้มา...

  • ถอนเงินเกษียณด้วยวิธี Bucket Strategy ดีกว่าจริงหรือ
Visitors: 49,333